Translate

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ยุงลายเจ้าตัวร้าย

มาป้องกันยุงลายเจ้าตัวร้าย ที่แพร่เชื้อไข้เลือดออกกัน

หลายพื้นที่ของประเทศมีฝนตก ทำให้มีแอ่งน้ำขังหรือมีน้ำขังอยู่ตามเศษวัสดุ เศษภาชนะต่างๆ จานรองกระถางต้นไม้ และกาบใบไม้ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์อย่างดีของยุงลาย อาจทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคนี้พบผู้ป่วยได้ตลอดปี แต่จะพบมากในช่วงฤดูฝน ทุกแห่ง จัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดยุงลายเพื่อลดปริมาณยุงลายให้มาก      
      
      
       ไข้เลือดออกขณะนี้พบได้ทุกวัย จะมีอาการป่วยหลังถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัดประมาณ 5-8 วัน ลักษณะอาการเริ่มจากมีไข้สูงกะทันหัน ไข้จะสูงติดต่อกัน 2-7 วัน ผิวหน้าแดง ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก คลื่นไส้ อาเจียน แต่จะไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล เหมือนไข้หวัด นอกจากนี้ อาจมีผื่นหรือจุดแดงๆ ขึ้นที่ใต้ผิวหนัง หลังจากนั้นไข้จะลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะฟื้นตัว สดชื่น แจ่มใสขึ้น และหายเป็นปกติ แต่จะมีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 2-5 ที่มีอาการช็อก เนื่องจากมีเลือดออกในอวัยวะภายใน เป็นอันตรายมาก มักจะเกิดหลังไข้ลง อาการที่สังเกตได้คือผู้ป่วยจะซึมลง เบื่ออาหาร มีอาการเพลียมาก ปวดท้อง อาเจียน กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ถ่ายปัสสาวะน้อยลง ขอให้รีบพาไปโรงพยาบาลทันที
      
       กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ กลุ่มเด็กเล็ก เพราะเด็กยังไม่สามารถบอกอาการตัวเองได้ ดังนั้นจึงขอให้ผู้ปกครองใช้วิธีสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากหลังให้กินยาลดไข้ คือยาพาราเซตามอล หรือเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแล้วไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน หรือเด็กร้องกวนมาก ไม่กินนม ขอให้ผู้ปกครองคิดถึงว่าเด็กอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ให้รีบพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและรักษาอย่างทันท่วงที
      
สำคัญที่สุดในการให้ยาลดไข้ ขอให้ใช้ยาพาราเซตามอล ห้ามใช้ยาแอสไพริน อย่างเด็ดขาด เนื่องจากหากป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ซึ่งมีเลือดออกในอวัยวะภายในอยู่แล้ว ยาแอสไพรินจะทำให้มีเลือดออกมากขึ้น เพราะคุณสมบัติของแอสไพรินจะต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด ทำให้เลือดหยุดยากและเสียชีวิตได้
      
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น